บทความ

ต้นไม้

รูปภาพ
1.โพทะเล  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Thespesia populnea  ; ชื่อสามัญ: Portia Tree) เป็นชนิดของไม้ดอกในตระกูล  Malvaceae  เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม โพทะเล เป็นพืชในสกุลเดียวกับ ปอทะเล และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แหล่งอาศัยเป็นแบบเดียวกัน ดอกสีเหลือง บานตอนเช้า แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน แต่ดอกโพทะเลไม่มีวงกลมสีแดงภายในดอกแบบเดียวกับปอทะเล ใบเป็นรูป หัวใจ คล้ายใบ โพธิ์  ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุมทำให้น้ำระเหยออกจากใบได้ช้า ผลกลม เมื่อแก่เต็มที่เป็นผลแห้ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ที่ขั้วผล 2.ประสักแดง  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ - ๓๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ โคนต้น มีพูพอนสูงและมีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป มีรากหายใจคล้ายหัวเข่าเปลือกหยาบ สีน้ำตาลดำถึงดำ แตกเป็นร่องตามยาวไม่เป็นระเบียบ    ใบ  เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปไข่แกมรี ขนาด ๔  –  ๙  x  ๘  –  ๒๐ ซม. ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบมน ผิวใบเรียบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นใบ ๘  –  ๑๐...

ประโยชน์ของป่าชายเลน

รูปภาพ
ประโยชน์ของป่าชายเลน  1. เป็นแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ 2. เป็นแนวชายป้องกันฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย กำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ 3. เป็นที่ดูดซับน้ำเสียจากบ้านเรือน 4. เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้ ที่ใช้ในการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สิ่งทอและหนัง สัตว์  5. เป็นแหล่งเชื้อเพลิง เช่น การทำถ่านจากไม้ในป่าชายเลน   6. เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหาร ยา และเครื่องดื่ม  7. เป็นแหล่งแร่ดีบุก 8. เป็นแหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง แหล่งอาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆ             9. เป็นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาในกระชัง เป็นต้น

ต้นไม้

รูปภาพ
1.โปรงขาว ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นขนาดกลาง กึ่งไม้พุ่ม สูง 2-7 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย พองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น กลม ยาว 6-13 ซม. เหนือผิวดิน ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้น สีเทาอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีนํ้าตาลอมชมพู 2.แสมดำ มดำ  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Avicennia officinalis ) เป็นพืชใน ป่าชายเลน  พบได้ทั้งหาดทรายปนเลนและหาดเลน รากเป็นร่างแห มีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นดิน เปลือกต้นเรียบ สีเขียวเข้มถึงเทาเข้ม ใบแตกตรงข้ามเป็นคู่ ใต้ใบไม่ซีดแบบแสมขาว ใบหนาอวบน้ำป้องกันการสูญเสียน้ำ มี ต่อมเกลือ ที่ใบช่วยขับเกลือออก ดอกสีขาว-เหลือง 4 กลีบ เป็นช่อคล้ายดอก แสมขาว  แต่ดอกใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกระเปาะคล้ายแสมขาว แต่สั้นกว่า ผลเป็นรูปหยดน้ำ ปลายผลงอ มีขนสีน้ำตาลอ่อนคลุมทั้งผล ผลลอยน้ำได้

ป่าชายเลน คือ ?

รูปภาพ
   ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ อ่าว บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ             ป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง ( Rhizophora sp. ) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ตัวอย่างเช่น ถั่วดำ ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมขาว แสมทะเล ลำพู ลำพูทะเล ตาตุ่มทะเล เหงือกปลาหมอ เป็นต้น

ชนิดของปู

รูปภาพ
 1. ปูแสม หรือปูเค็ม   กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่โค้งมาก ริมกระดองตัดตรงโค้งออกเล็กน้อย กระดองส่วนหน้าระหว่างตากว้างมาก กว้างกว่าความยาวของก้านตาซึ่งสั้นและอวบ ช่องว่างระหว่าง third maxillipeds เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก้ามกว้างกลม ส่วนมากมีขนระหว่างข้อสุดท้ายและรองข้อสุดท้าย ขาแข็งแรง  ปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ก้ามมีขนาดใหญ่แข็งแรงสีบานเย็นอมม่วง ขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน โพรงหิน หาดทราย ป่าแสม โกงกาง หรือตามบริเวณปากแม่น้ำ ปูแสมมีถึง 29 สกุล 71 ชนิด แต่ชนิดที่นิยมนำมาดองเค็มและเป็นที่นิยมของตลาดนั้น เป็นปูแสมที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesarma mederi  กินเศษอินทรีย์และใบไม้ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร   2.ปูทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลแก่ ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม  4  อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ  8-9  อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่นๆ ไม่มีหนามตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมีย เลือดปูทะเลมีสีฟ้าใส เมื่อถูกความร้อนจะกลายเป็นสีขาวขุ่นคล้ายครีม ปูพวกนี้จะเจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกค...

บรรยากาศภายในหอชมวิว

รูปภาพ
ทางเดินไปยังหอชมวิว เป็นทางเดินไม้ระแนงกว้างประมาณ 1 เมตร ลึกเข้าไปประมาณ 400 เมตร ทางเดินไม้ไม่มีขอบกั้น สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร สองข้างทางมีต้นไม้นานาพรรณ บางต้นมีขนาดใหญ่ อายุหลายร้อยปี มีกิ่งก้านแผ่ขยายออกไปกว้าง ไม้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง แสมขาว แสมดำ โปรงขาว ประสักดอกแดง โพทะเล ปรงทะเล ตะบูนขาว ตะบูนดำ เป็นต้น มี “บ้านหอยพอก” เป็นการสร้างคอกไม้ไผ่ล้อมไว้บนพื้น เพื่อให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุหอยพอก มี”คอนโดปู” ที่เกิดจากความคิดของกลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำและป่าชายเลน โดยนำไม้แสม โกงกาง และเศษไม้มาปักทับถม ให้เหมือนกับเป็นที่พักอาศัยและขยายพันธุ์ทางธรรมชาติของสัตว์น้ำเช่น ปูแสม ปูหนุมาณ ปูทะเล(ปูดำ) ปูกระเทย และปลาชนิดต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ สุดทางเป็นหอชมวิวเฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นติดกับแม่น้ำระยอง โดยสร้างเป็นหอคอยทรงสามเหลี่ยม กว้าง 8 เมตร สูง 22.10 เมตร มีบันไดขึ้นลง ลักษณะวนขึ้นเป็นชั้นๆ 11 ชั้น พื้นปูด้วยกระเบื้องที่มีพื้นผิวขรุขระ ไม่ลื่นเมื่อโดนฝน เมื่อขึ้นถึงชั้นบนสุด ด้านนึงจะเห็นวิวท้องทุ่งยอดไม้เขียวชะอุ่ม ของป่าชายเลนด้านล่าง อีกด้านหนึ่งเป็นท...

คอนโดปู

รูปภาพ
ทุกวันนี้มนุษย์เราก็ใช้ชีวิตที่ฝืนและเบียดเบียนธรรมชาติอยู่แล้ว จะเพิ่มวิธีแทรกแซงธรรมชาติ "แบบสร้างสรรค์" เข้าไปอีกสักหน่อยเพื่อการอนุรักษ์ก็คงไม่เป็นไร ปูที่ปกติอาศัยอยู่ในพื้นทรายใต้ทะเล ยังคงอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แต่ด้วยหลายปัจจัยทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงเริ่มจับปูทะเล (ปูดำและปูม้า) ได้จำนวนน้อยลง แถมขนาดตัวยังเล็กลงอีกด้วย หน่วยราชการระดับจังหวัดและตำบลจึงคิดทำโครงการปล่อย "คอนโดปู" ลงสู่ทะเล เพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ ไม่ให้สูญหายไป รวมทั้งรักษาอาชีพของชาวประมงไว้  คอนโดปูคืออะไร  คอนโดปู คือ วิธีการนำปูไข่และปลาทะเลซึ่งเป็นอาหารของปูไปใส่ไว้ในกรงพลาสติกที่เป็นซี่ๆ (มักใช้ตะกร้าพลาสติกประกบกันและมัดให้แน่น) จากนั้นจึงจัดเรียงบ้านของปูเหล่านี้ซ้อนกันในแนวดิ่ง เหมือนคอนโดของคนเรานี่แหละ นำคอนโดปูที่เรียงกันเป็นแพนี้ไปปล่อยลงทะเล ถ่วงให้จมอยู่ใต้ทะเล โดยมีระยะเวลาเปลี่ยนคอนโดใหม่ห่างกันราว 2 สัปดาห์ ในช่วงเวลานั้นแม่ปูก็จะวางไข่ ทำให้ลูกปูมีจำนวนมากขึ้น ปูที่จับได้ก็มีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย